วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สอนวิธีการทำแมโครในดครซอฟต์เวิร์ต

วิธีการทำแมโครในไมโครซอฟต์เวิร์ด
การสร้างเมนูคำสั่งใน MS Office ด้วย Macro
Macro คืออะไรMacro เป็นลักษณะการใช้งานพิเศษที่ผู้ใช้โปรแกรมประยุกต์ในกลุ่มของ Microsoft Office สามารถเรียกใช้งานเพื่อการสร้างคำสั่งขึ้นใหม่ซึ่งจะช่วยให้การใช้งานง่ายขึ้นและประหยัดเวลาในการใช้งานบางอย่างที่ต้องทำเป็นขั้นตอนซ้ำ ๆการสร้าง Macro ใน Microsoft Wordการบันทึก Macro
เปิดเอกสารที่ต้องการจะบันทึก Macroคลิกที่เมนู Tools เลือกMacro > New Macro…
พิมพ์ชื่อของคำสั่งที่ต้องการใน Macro name box จากนั้นใน Store macro in box คลิกเลือกว่าต้องการเก็บ macro ที่สร้างนี้ไว้ที่ใด แล้วคลิกปุ่ม OK เพื่อเริ่มการบันทึก










บนจอภาพจะปรากฏกรอบแสดงปุ่มควบคุมการบันทึก และที่ pointer ของเมาส์จะปรากฏสัญลักษณ์เครื่องบันทึกเทป ณ ขณะนั้นถ้ามีการพิมพ์ หรือ คลิกเลือกคำสั่งใด กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก็จะถูกเก็บบันทึกไว้ตามขั้นตอนที่เกิดขึ้น เมื่อต้องการหยุดการบันทึกชั่วคราวก็กดปุ่ม Pause หรือ กดปุ่ม Stop เมื่อสิ้นสุดกิจกรรมที่ต้องการบันทึกสำหรับ macro นั้นการเรียกใช้ Macroคลิกที่เมนู Tools เลือกคำสั่ง Macro > Macros… จะพบ Macro ที่ได้บันทึกไว้ในกรอบรายชื่อของ Macroถ้าต้องการให้ macro ใดทำงาน ให้คลิกเลือกชื่อ macro นั้น แล้วคลิกที่ปุ่ม Runการแก้ไข Macroคลิกที่เมนู Tools เลือกคำสั่ง Macro4Macros… คลิกเลือกชื่อ macro ที่ต้องการแก้ไข แล้วคลิกที่ปุ่ม Editจะปรากฏวินโดว์ของ Microsoft Visual Basic ซึ่ง Word กำหนดไว้ให้เป็น Editor พร้อมกับวินโดว์ที่แสดง Code คำสั่ง ซึ่ง Word ได้แปลงขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้บันทึกไว้ ในกรณีที่เข้าใจคำสั่ง Visual Basic ก็สามารถทำการแก้ไข code ได้ตามต้องการเมื่อต้องการกลับไปที่ Word ให้คลิกที่ไอคอนของ Word บน Toolbarการสร้างเมนูคำสั่งสำหรับเรียกใช้ Macroเมื่อได้มีการสร้าง Macro แล้ว และต้องการจัดทำเป็นเมนูเพื่อให้สามารถเรียกใช้ Macro ได้โดยสะดวก ก็สามารถทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้เปิด Document หรือ Template ที่มีได้บันทึก Macro ไว้คลิกที่เมนู Tools เลือกคำสั่ง Customize… เลือกแถบ Commands ที่ Categories box คลิกที่ Macrosคลิกที่ Macro ที่ต้องการ แล้วลากเมาส์เพื่อนำ Macro ไปวางที่ Menu barคลิกปุ่ม Closeเมื่อต้องการเรียกใช้ Macro นั้น ก็สามารถคลิกที่เมนูได้ตามต้องการMacro Security ใน Microsoft Officeเนื่องจากปัญหาการระบาดของ macro virus โปรแกรมในกลุ่ม Microsoft Office จึงกำหนดให้มีการตั้ง security สำหรับการตรวจหา macro และเตือนผู้ใช้ว่ามี custom macro ในแฟ้มที่กำลังจะเปิด ผู้ใช้ต้องระบุว่าจะต้องการเปิดแฟ้มในลักษณะที่ยอมให้ macro ทำงานหรือไม่ (diable หรือ enable macro)ใน Microsoft Office 2000 ถ้าต้องการปรับเปลี่ยน Security ของ Macro ให้คลิกที่ Tools เลือกคำสั่ง Macro > Security… ซึ่งจะพบว่ามีอยู่ 3 ระดับ ดังนี้High ถ้าเลือกระดับนี้ Macro ที่ได้ผ่านการรับรองเท่านั้นที่จะยอมให้ทำงานได้ Macro อื่น ๆ จะไม่สามารถทำงานได้Medium ถ้าเลือกระดับนี้ ผู้ใช้งานจะต้องเป็นคนกำหนดเองว่าจะยอมให้ macro ทำงานหรือไม่Low ถ้าเลือกระดับนี้ จะเป็นการยอมให้ macro ทำงานได้ทันทีที่มีการเปิดแฟ้มนั้น ๆ ซึ่งเป็นระดับที่ไม่ปลอดภัยในเรื่องการป้องกัน virusในกรณีที่มีการสร้าง macro ไว้ใช้งาน อาจจะเลือก Security ระดับ Medium และก่อนจะเปิดแฟ้มที่มี macro ควรจะให้แน่ใจว่ามาจากแหล่งที่เชื่อถือได้



วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ประวัติความเป้นมา

ประวัติ ความเป็นมา ภาษา Cภาษาซีเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1972 โดย Dennis Ritchie แห่ง Bell Labsโดยภาษาซีนั้นพัฒนามาจาก ภาษา B และจากภาษา BCPLซึ่งในช่วงแรกนั้นภาษาซีถูกออกแบบให้ใช้เป็นภาษาการเขียนโปรแกรมในระบบ UNIXและเริ่มมีคนสนใจมากขึ้นในปี ค.ศ.1978 เมื่อ Brain Kernighan ร่วมกับ Dennis Ritchie พัฒนามาตรฐานของภาษาซีขึ้นมา คือ K&R (Kernighan & Ritchie) และทั้งสองยังได้แต่งหนังสือชื่อว่า "The C Programming Language" โดยภาษาซีนั้นสามารถจะปรับใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์รูปแบบต่างๆได้ต่อมาในช่วง ปี ค.ศ.1988 Ritchie และ Kernighan ได้ร่วมกับ ANSI (American National Standards Institute) สร้างเป็นมาตรฐานของภาษาซีขึ้นมาใหม่มีชื่อว่า "ANSI C"
ภาษาซีนั้นจัดเป็นภาษาที่ใช้ในการเขียน โปรแกรมที่นิยมใช้งาน ซึ่งภาษาซีจัดเป็นภาษาระดับกลาง (Middle-Level Language) เหมาะกับการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง (Structured Programming) โดยมีคุณสมบัติโดดเด่นอย่างหนึ่งคือ มีความยืดหยุ่นมาก กล่าวคือ สามารถทำงาน กับเครื่องมือต่างๆ สามารถปรับเปลี่ยนการเขียนโปรแกรมในรูปแบบต่างๆได้ เช่น สามารถเขียนโปรแกรมที่มีความยาวหลายบรรทัดให้เหลือความยาว 2-3 บรรทัดได้ โดยมีการผลการทำงานที่เหมือนเดิมครับจาก C สู่ C++ถูกพัฒนาโดย Bjarne Stroustrup แห่ง Bell Labs โดยได้นำเอาภาษา C มาพัฒนาและใส่แนวคิดการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ หรือ OOP (Object Oriented Programming) เข้าไปด้วย ซึ่งเป็นที่มาของ C++ ก็คือ นำภาษา C มาพัฒนาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ภาษาซี (C programming language) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงโครงสร้างระดับสูงที่ได้รับการพัฒนาขึ้นในช่วงทศวรรษ 1970 โดย เคน ธอมป์สัน (Ken Thompson) และ เดนนิส ริทชี่ (Dennis Ritchie) ขณะทำงานอยู่ที่ เบลล์เทเลโฟน เลบอราทอรี่ สำหรับใช้ในระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ต่อมาภายหลังได้ถูกนำไปใช้กับระบบปฏิบัติการอื่น ๆ และกลายเป็นภาษาโปรแกรมหนึ่งที่ใช้กันแพร่หลายมากที่สุด ภาษาซีมีจุดเด่นที่ประสิทธิภาพในการทำงาน เนื่องจากมีความสามารถใกล้เคียงกับภาษาระดับต่ำ แต่เขียนแบบภาษาระดับสูง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนด้วยภาษาซีจึงทำงานได้รวดเร็ว ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมที่นิยมใช้กันมากสำหรับพัฒนาระบบปฏิบัติการ,ซอฟต์แวร์ ระบบ , ควบคุมไมโครคอนโทรลเลอร์ และเป็นภาษาที่ใช้กันทั่วไปในหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ประวัติภาษา C++ภาษา ซีพลัสพลัส (C++ programming language) เป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์อเนกประสงค์ มีโครงสร้างภาษาที่มีการจัดชนิดข้อมูลแบบสแตติก (statically typed) และสนับสนุนรูปแบบการเขียนโปรแกรมที่หลากหลาย (multi-paradigm language) ได้แก่ การโปรแกรมเชิงกระบวนคำสั่ง, การนิยามข้อมูล, การโปรแกรมเชิงวัตถุ, และการโปรแกรมแบบเจเนริก (generic programming) ภาษาซีพลัสพลัสเป็นภาษาโปรแกรมเชิงพาณิชย์ที่นิยมมากภาษาหนึ่งนับตั้งแต่ ช่วงทศวรรษ 1990Bjarne Stroustrup จากห้องวิจัยเบลล์ (Bell Labs) เป็นผู้พัฒนาภาษา C++ ขึ้น (เดิมใช้ชื่อ "C with classes") ในปีค.ศ. 1983 เพื่อพัฒนาภาษาซีดั้งเดิม สิ่งที่พัฒนาขึ้นเพิ่มเติมนั้นเริ่มจากการเพิ่มเติมการสร้างคลาสจากนั้นก็ เพิ่มคุณสมบัติต่าง ๆ ตามมา ได้แก่ เวอร์ชวลฟังก์ชัน การโอเวอร์โหลดโอเปอเรเตอร์ การสืบทอดหลายสาย เท็มเพลต และการจัดการเอ็กเซ็พชัน มาตรฐานของภาษาซีพลัสพลัสได้รับการรับรองในปีค.ศ. 1998 เป็นมาตรฐาน ISO/IEC 14882:1998 เวอร์ชันล่าสุดคือเวอร์ชันในปีค.ศ. 2003 ซึ่งเป็นมาตรฐาน ISO/IEC 14882:2003 ในปัจจุบันมาตรฐานของภาษาในเวอร์ชันใหม่ (รู้จักกันในชื่อ C++0x) กำลังอยู่ในขั้นพัฒนา+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++เหตุผลที่ควรเรียนภาษาซีเนื่องจากภาษาซีเป็นภาษาแบบโครงสร้างที่สามารถศึกษาและทำความเข้าใจได้ไม่ ยาก อีกทั้งยังสามารถเป็นพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมภาษาอื่นๆ ได้อีก เช่น C++, Perl, JAVA เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ชื่อ นางสาวน้ำฝน นามสกุล พรหมประเสริฐ

ชื่อเล่น แต้ว

ชั้น ปวช2/3 คอมพิวเตอร์ธุรกิจ